Oreilly เป็นสำนักพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาที่เราจะพบหนังสือเกี่ยวกับคอมที่วางขายตามร้านหนังสือทั่วไปนี่แหละฮะ แต่ตอนนี้ก็มีให้อ่านออนไลน์ กับวิดีโอสอน และงานประชุมบนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มของ Orelly เอง
ปกติเวลาเรามีข้อมูลที่ได้รับการเทรนเรียบร้อยแล้วทดสอบแล้วได้ผลที่แม่นยำตามที่เราต้องการ จากนั้นเรานำโมเดลที่ผ่านการเทรน และทดสอบแล้วมารันในโปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเขียนในภาษาไพทอน แต่ทีนี้เราจะต้องดูปลายทางว่าเราจะนำข้อมูลที่เทรนมาทำงานบนเว็บเบราวเซอร์ มาไว้ในอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) หรืออื่น ๆ
ภาพยนตร์เรื่องรายากับมังกรตัวสุดท้าย (Raya and The Last Dragon) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ผลิตโดย Disney Animation Studios เป็นหนังที่นำเรื่องราว วิถีชีวิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นธีมในภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่มีทีมงานคนไทยมีส่วนร่วมในการผลิต ได้เข้าฉายในโรงวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา โดยเราเพิ่งไปดูวันนี้ (วันที่ 5 มีนาคม) ที่โรงหนัง SF Cinema Central World ดูรอบค่ำในโรง CAT Cinema First Class ที่มีคนดู 2-3 คนซึ่งน้อยกว่าโรงอื่น (แหม ก็ดูจากราคาสิ) ดูเสร็จแล้วมาเขียนให้ผู้อ่านครับ
โดยเนื้อหามีเปิดเผยเนื้อหาสำคัญบางส่วนในช่วงท้าย ใครที่ยังไม่เคยดูแนะนำว่าไปดูก่อนดีกว่า
อัพเดท: ตัวไลบรารีได้รับการพัฒนาต่อแล้วครับ อ่านได้ในรายละเอียดหัวข้ออัพเดทด้านล่างของบทความครับ
การนำโมเดลที่ได้รับการเรียนรู้แล้วมาทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่นัก เพราะบริษัทกูเกิ้ลพัฒนาไลบรารีชื่อ Tensorflow.js โดยเรานำโมเดลที่ได้รับการเรียนรู้แล้วมาทำนาย หรือเรียนรู้ข้อมูลใหม่บนเว็บไซต์ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลไปทำนายบนเซิร์ฟเวอร์
หลังจากที่ไม่ได้เขียนบทความมานาน เริ่มมาเขียนให้ถี่ขึ้นกันดีกว่า วันนี้เราจะมาพูดถึงการนำไอแพด (หรือแท็บเล็ตยี่ห้ออื่น) มาใช้งานแทนคอมพิวเตอร์
หลังจากที่บริษัทแอปเปิ้ลประกาศให้ไอแพดรองรับการใช้เมาส์ และคีย์บอร์ดบนไอแพดให้แล้ว เราเลยนำคีย์บอร์ดที่มีอยู่แล้ว และซื้อแทร็คแพด (ที่เป็น Magic TrackPad) มาใช้ร่วมกันกับไอแพดได้ง่ายโดยเพียงแค่ต่อบลูทูธกับตัวคอมพิวเตอร์แล้วพร้อมใช้งาน
ปกติเวลาเปิดเว็บรวมถึงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เช่นเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ เราจะพบว่าหลาย ๆ คนจะแชร์ข่าวพร้อมกับแสดงความคิดเห็นที่มีต่อบทความนั้น แต่ทีนี้ในปัจจุบันเครือข่ายสังคมออนไลน์มีอิทธิพลกับคนเรามากขึ้น ดังนั่นแล้วบทความก็เปลี่ยนรูปแบบไป
สิ่งที่พบได้จากการเข้ามาก็พบว่าหัวข้อ หรือพาดหัวข่าวจะดูเรียกแขกให้เข้ามาอ่านมากขึ้น โดยพาดหัวข่าวให้โอเวอร์จนเกินความเป็นจริง แต่ทีนี้พอคลิกเข้าไปดูเนื้อข่าวข้างในจริง ๆ กึไม่ได้น่าอ่าน/น่าสนไจขนาดนั้น (เรียกอีกแบบว่า Clickbait) อีกแบบก็คือเนื้อความข้างในการพาดหัวไม่ตรงกัน แล้วคนก็ไม่ได้อ่านข้อความข้างไนทั้งหมดเนอะ เลยแสดงความคิดเห็นตามพาดหัวนั้น กลายเป็นว่าคนที่โพส รวมถึงคนที่แชร์ไปก็เข้าใจผิดตาม ๆ กันหมดเลย
กรณีที่อ่านแต่พาดหัว ถ้าเป็นบทความทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้สำคัญระดับประเทศ หรือคอขาดบาดตายก็ไม่เท่าไร
Clubhouse เป็นโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์ซึ่งกำลังมาแรงในขณะนี้ ที่ใช้เสียงแทนการพิมพ์ข้อความ และเราสามารถเข้าร่วมห้องแชทเพื่อสัมภาษณ์คนดัง พูดถกเถียงได้หลายประเด็น ได้แก่ การเมือง ชีวิตประจำวัน การท่องเที่ยว โดยเวลาพูดคุยในตัวแอปเราจะไม่เห็นหน้ากัน นอกเหนือจากนี้แอปนี้เป็นแอปที่เวลาสมัครโดยใช้การเชิญ (Invite) เข้าไปในตัวโปรแกรม ที่หลายคนกำลังรออยู่ตอนนี้
ส่วนของเราเองเห็นคนใช้กันซักระยะหนึ่งแล้ว เจอเพื่อนคนนึงโพสก็มุกนี่แหละเล่าถึงประสบการณ์การใช้งาน Clubhouse ที่กำลังเขียนถึงข้อดีข้อเสียอยู่ตอนนี้ ร่วมกันกับเรามีโทรศัพท์ไอโฟนใช้อยู่ (ในขณะที่เขียนตัวแอปรองรับไอโฟน) เลยทักเพื่อนไปให้เชิญเข้าร่วมใช้ตัวโปรแกรม
เมื่อได้รับการเชิญเข้าไปในตัวโปรแกรมแล้วเลยสมัครสมาชิกใส่ข้อมูลส่วนตัว รูปดิสเพลย์เรียบร้อย เลยเข้าไปกดติดตามคนที่เราเคยติดตามในเฟสบุ๊คอยู่แล้ว กับติดตามเพื่อน และเข้าไปในกลุ่มที่เพื่อนเชิญเข้าไป เช่นกลุ่มสตาร์ทอัพทางการแพทย์
ตอนทำธิสิสทางอาจารย์จะให้ทำเป็นตัวโปรแกรมเพื่อให้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์แทนที่จะใช้อุปกรณ์ไม้บรรทัดวัดมุมการเคลื่อนไหวของศีรษะและลำคอ หรือเรียกอีกอย่างว่า Goniometer เพราะเครื่องมือนั้นขึ้นกับผู้วัดแต่ละคน ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนระหว่างการวัดได้ เลยเป็นสาเหตุที่เราจะพัฒนาตัวโปรแกรมกัน
ตอนพัฒนาตัวเว็บที่จะใช้ในงานวิจัย (ธีสิสนะแหละ) เดิมใช้ภาษา HTML, CSS และ JS ที่ใช้เครื่องมือ Bootstrap ร่วมกันกับ jQuery ในตอนนั้นเขียนเสร็จแล้ว ตัวเว็บทำงานได้ตามปกติเพียงแต่เกิดปัญหาเมื่อโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเนื่องจาก
- โค้ดที่มีความซับซ้อนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
- การแก้ไขตัวโต้ดเวลาเกิดบั้กทำได้ยาก เกิดปัญหาเวลาติดบั้กแล้วต้องไล่อ่านโค้ดที่เอ่อ งงไปหน่อย
- เพิ่มเครื่องมือ (Library) ได้ลำบาก
โดยจากบทความที่แล้วที่พูดถึงการใช้เทคนิคการจับภาพใบหน้าที่เขียนโดย Tensorflow.js กับ ONNX.js ที่ใช้ตัวจาวาสคริปธรรมดาแล้วเวลาเขียนไปเรื่อย ๆ ก็เริ่มงงและ
Face Detection in my thesis
ตอนนี้ธีสิสที่ทำอยู่เกี่ยวกับการวัดการเคลื่อนไหวของศีรษะและลำคอในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งศีรษะและลำคอที่ผ่านการทำกายภาพบำบัดที่เดิมจะให้หมอวัดองศาการเคลื่อนไหวของศีรษะและลำคอ (Cervical range of motion) แต่ทีนี้ติดปัญหาเรื่องความแม่นยำ และความน่าเชื้อถือของการวัด (reliability & validity) เราจะทำเป็นตัวโปรแกรมเพื่อให้ประเมินการเคลื่อนไหวจาก webcam แทน แล้วทีนี้ขั้นแรกของเราจะต้องทำคือการใช้เทคนิคการจับภาพใบหน้า (Face detection)
ช่วงนี้เป็นช่วงที่กรุงเทพฯ มีปัญหาเรื่องฝุ่นที่เรียกว่า PM 2.5 (ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์) สังเกตได้จากค่าฝุ่นสูงมากกว่าปกติ รวมถึงมองไปที่ตึกแล้วทัศนวิสัยแย่ลงกว่าเดิม เวลาออกไปนอกบ้านทีนึงรู้สึกแสบตา แสบจมูก น้ำมูกไหล ส่วนคนที่มีปัญหาเรื่องปอดอยู่แล้วอาจจะมีอาการหอบหืดกำเริบได้