Nitter คือเครื่องมือสำหรับทำเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูทวิตใน Twitter (หรือ X) ที่เน้นเรื่องความเป็นส่วนตัว และประสิทธิภาพของการใช้งานเว็บไซต์ โดยโครงการนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการ Invidious

Nitter คือเครื่องมือสำหรับทำเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูทวิตใน Twitter (หรือ X) ที่เน้นเรื่องความเป็นส่วนตัว และประสิทธิภาพของการใช้งานเว็บไซต์ โดยโครงการนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการ Invidious
ปัญหาสำหรับงาน Machine Learning ส่วนหนึ่งเลยคือปัญหาการติดตั้ง และจัดการ Environment สำหรับการใช้งานทีประกอบไปด้วยปัญหาการติดตั้งเครื่องมือ ปัญหาการติดตั้งไลบรารี และปัญหาการตั้งค่า
ปัญหาเหล่านี้ส่งผลทำให้งานเป็นไปได้ล่าช้า หรือถึงแม้ติดตั้งเองได้แต่ก็ลืม รวมถึงถึงติดตั้งได้ แต่เครื่องมือเหล่านี้ก็เป็นเวอร์ชันเก่าแล้ว
ปกติของเราก็จะมีของนำโชคที่ช่วยทำให้เราโชคดี ทำสิ่งที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จใช่ไหมครับ ใช่ครับ ของไทยเราก็จะมีขนมมงคลไว้สำหรับงานแต่งงาน งานที่มงคลทั้งหลายแหล่ ส่วนของไต้หวันที่นี่ก็มีเช่นกัน นั่นคือขนม Kuai Kuai (乖乖)
Samsung Z Fold 3 เป็นหนึ่งในโทรศัพท์จอพับที่ทำโดย Samsung ที่เปิดตัวไปเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมปี 2564 ในงาน Samsung Unpacked แล้ววางขายในไทยเมื่อนานมาแล้ว
ส่วนเราก็ซื้อมือถือมาใช้งานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2565 ร่วมกับซื้อเคส UAG มาใช้งานตามปกติ ก็ไม่ได้ทำหล่นอะไร เวลาฟิล์มลอกก็ไปที่ศูนย์เพื่อให้ศูนย์ติดฟิลม์ตามปกติ
ภาคต่อจากบทความก่อนหน้าที่นำอุปกรณ์แอนดรอยด์มาติดตั้งโปรแกรม termux ร่วมกับการติดตั้งเครื่องมือการพัฒนาโปรแกรม รวมถึง IDE ที่จำเป็นมาใช้งาน ทีนี้เรามาพูดถึงอุปกรณ์แอนดรอยด์ที่คนใช้งานกันนั่นก็คือมือถือหรือแท็บเล็ตของซัมซุง
มือถือ หรือแท็บเล็ตของซัมซุงมีฟังก์ชันหนึ่งที่ทำให้เวลาที่เราต่อออกหน้าจอแล้วเป็นเดสก์ท็อปได้เลยผ่านการเสียบสาย USB-C ออกมาต่อเข้ากับจอผ่าน USB-C/HDMI/DisplayPort หรืออื่น ๆ โดยฟังก์ชันนี้เรียกว่า Samsung DeX
ช่วงที่ผ่านมาก็จะมีพูดถึงการให้นักเรียนมาเรียนการเขียนโค้ด หรือที่คนพูดกันบ่อย ๆ (รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐฯ) ก็จะเรียกกันว่าโค้ดดิ้งที่ได้รับการบรรจุลงในวิชาวิทยาการคำนวณ โดยภาษาที่เหมาะกับผู้เริ่มต้นนั่นก็คือไพทอน
อย่างไรก็ดีการเขียนโปรแกรมไพทอนจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักที่ใช่ว่าทุกคนจะมีกันเสียเท่าไร เลยคิดว่าไหน ๆ มือถือแอนดรอยด์ก็มีกันหลายคนแล้ว แถมเราก็เปลี่ยนจากไอโฟนมาเป็นซัมซุงที่รองรับ Samsung DeX อยู่แล้ว เลยมาเขียนบทความนี้ดีกว่า
Python เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง โดยภาษานี้เป็นภาษา General-purpose ท่เน้นการอ่านตัวโค้ดได้ง่าย รวมถึงง่ายต่อการเรียนรู้ ภาษานี้ปกติจะไม่ได้ออกแบบเพื่อการทำงานบนหน้าเว็บไซต์แบบจาวาสคริป อย่างไรก็ดีมีทีมงานกลุ่มหนึ่งใน Mozilla ที่พัฒนาตึวโค้ด CPython ให้ทำงานอยู่บน Webassembly ที่ออกแบบมาให้รันตัวโค้ดที่ได้รับการคอมไพล์บนหน้าเว็บไซต์
เมื่อตัวโค้ดได้รับการคอมไพล์ให้อยู่บน Webassembly แล้ว ตัวโค้ดที่เขียนในรูปแบบภาษา Python จะเข้าถึง Web APIs ทั้งหลายแหล่ที่อยู่บนเว็บเบราวเซอร์ได้นั่นเอง
Jupyter Notebook เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เรารันตัว Python Notebook ได้ ซึ่งตัวนี้เหมาะกับการเขียนโค้ดเพื่อคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือทำงานด้าน Data Science และอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งเราจะพบการใช้งานตัว Jupyter Notebook ได้บ่อย ๆ ใน Google Colab
อย่างไรก็ดี การใช้งานตัว Google Colab พบปัญหา เนื่องมาจากตัวฟรี หรือตัวโปรรุ่นล่าง ๆ จะเปิดให้รันบนเบื้องหลังได้ไม่นาน หลังจากนั้นตัวระบบจะตัดไป เพื่อนำทรัพยากรที่มีจำกัดให้กับบุคคลอื่นแทน ดังนั้นแล้วการใช้งาน Jupyter Notebook บนคอมพิวเตอร์ของเรา หรือบนเซิร์ฟเวอร์ของเราเองจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
Web3 (ที่ไม่ใช่ Web 3.0 ตามที่คุณ Tim Berners-Lee กล่าวไว้) เป็นเว็บไซต์รูปแบบหนึ่งที่อยู่บนบล็อคเชนที่นำหลักการ Decentralization และหลักการ Token-based economics ตัวอย่างเช่นคริปโต โดย Web3 ที่พบได้ และบางคนก็ใช้ก็ตัวอย่างเช่น DeFi แบบ Pancakeswap หรืออื่น ๆ
อย่างไรก็ดี เวลาที่เปิดใช้งานเว็บแนวนี้เราก็ต้องเช็คก่อนครับว่ามีกระเป๋าตังคริปโต (ที่ได้ยินบ่อยก็เป็น MetaMask) หรือไม่ ถ้ามี เราก็เปิดให้เชื่อมกับกระเป๋าตังสำหรับใช้ทำธุรกรรม Smart Contract หรืออื่น ๆ ต่อได้เลย แต่ถ้าไม่มีก็ให้เว็บแจ้งว่าไม่มี