Categories
Computer Diary

ทำ Synthetic Head Pose Dataset เพื่อเทรน AI

ปกติเวลาที่เทรนโมเดล AI ที่เป็น Deep Learning สิ่งหนึ่งที่โมเดลเหล่านี้ต้องการสำหรับการเทรนโมเดลคือข้อมูล Dataset สำหรับการฝึกที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามปัญหาหนึ่งคือไม่มี Dataset ที่มีจำนวนมากพอสำหรับการเทรน

วิธีทั่วไปที่ทำก็ออกไปเก็บข้อมูล และจัดทำ Ground Truth สำหรับการเทรนโมเดล AI เพิ่ม ซึ่งโอเค อย่างไรก็ดีมีอีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถทำได้คือการสังเคราะห์ชุดข้อมูล Dataset ขึ้นมา (หรือเรียกว่าทำ Synthetic Dataset)

Categories
Computer Diary

วิธีการทำ Object Detection โดย Nanodet

Object detection คือขั้นตอนการหาตำแหน่งวัตถุจากภาพโดย AI ตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ คน รถยนต์ จักรยาน และอื่น ๆ โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้งานเทคนิคนี้จะแสดงผลในรูปแบบกรอบสี่เหลี่ยม Bounding box พร้อมกับจำแนก Class ของภาพที่จับได้ว่าเป็นอะไร

Categories
Computer Diary

ปรับโมเดล ONNX ให้ไวด้วย Static Quantization

ปกติเมื่อเราเทรนโมเดลที่ต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วโมง ไปจนถึงหลายวันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะต้องนำโมเดลไปใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์ฝังตัวขนาดเล็กเพื่อนำไปใช้งานจริง อย่างไรก็ตามโมเดลมันมีขนาดใหญ่ ต้องใช้พลังการประมวลผลมาก แล้วเราจะต้องใช้เทคนิคอะไรมาช่วยล่ะ?

คำตอบที่เหมาะสมกับปัญหานี้คือ Quantization

Categories
Computer Diary

ใช้ Linux บน WSL หรือลง Linux แทนวินโดว์?

ก่อนหน้านี้เวลาจะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux อย่าง Ubuntu ที่ผู้เขียนใช้อยู่ เราจำเป็นต้องติดตั้งแยกเป็น Partition อีกห้องหนึ่ง หรือติดตั้งทับ Windows ไปเลย แต่ไม่กี่ปีมานี้ ทางไมโครซอฟต์พัฒนาความสามารถหนึ่งที่ติดมากับระบบปฏิบัติการ Windows 10 และ 11 นั่นก็คือ Windows Subsystem for Linux (WSL)

Categories
Computer Diary

ROG Flow X13: การตั้งค่าและทดสอบกับ AI/ML

เดิมทีเรามีโน้ตบุ๊คตัวเก่าอย่าง Surface Pro X ที่ใช้อยู่แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนี้เครื่องอืดไปหน่อยสำหรับการใช้งานทางด้าน AI/ML ด้าน Computer Vision แถมคอมตั้งโต๊ะที่มีอยู่ก็พกพาไปไหนก็ไม่สะดวก และคอมที่แล็บก็ต้องรีโมทเข้าไปใช้งานก็ไม่สะดวกเช่นกัน เลยมองหาโน้ตบุ๊คซักตัวสำหรับการพกพา

Categories
Computer Diary

วิธีเทรน Segmentation โดย mmSegmentation

ปกติเวลาที่เราต้องการแยกวัตถุออกจากวัตถุหนึ่งโดยตาของคน อันนี้ทำได้ไม่ยาก เพราะเราแยกออกจากกันได้ง่ายอยู่แล้ว แต่จะให้คอมพิวเตอร์แยกวัตถุแต่ละอย่างออกจากภาพได้ อันนี้เราจำเป็นต้องให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้เสียก่อน

โดยเรื่องนี้อยู่ในหัวข้อ AI (Artificial Intelligence) อย่าง Computer Vision ที่อยู่ในเรื่องของ Semantic Segmentation

Categories
Computer Diary

Pyodide – แนะนำการเริ่มต้นใช้งาน และการพล็อตกราฟเพื่อแสดงบนหน้าเว็บ

Python เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง โดยภาษานี้เป็นภาษา General-purpose ท่เน้นการอ่านตัวโค้ดได้ง่าย รวมถึงง่ายต่อการเรียนรู้ ภาษานี้ปกติจะไม่ได้ออกแบบเพื่อการทำงานบนหน้าเว็บไซต์แบบจาวาสคริป อย่างไรก็ดีมีทีมงานกลุ่มหนึ่งใน Mozilla ที่พัฒนาตึวโค้ด CPython ให้ทำงานอยู่บน Webassembly ที่ออกแบบมาให้รันตัวโค้ดที่ได้รับการคอมไพล์บนหน้าเว็บไซต์

เมื่อตัวโค้ดได้รับการคอมไพล์ให้อยู่บน Webassembly แล้ว ตัวโค้ดที่เขียนในรูปแบบภาษา Python จะเข้าถึง Web APIs ทั้งหลายแหล่ที่อยู่บนเว็บเบราวเซอร์ได้นั่นเอง

Categories
Computer Diary

รันโค้ด Jupyter โดยไม่ต้องเปิดหน้าเว็บเบราวเซอร์ทิ้งไว้

Jupyter Notebook เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เรารันตัว Python Notebook ได้ ซึ่งตัวนี้เหมาะกับการเขียนโค้ดเพื่อคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือทำงานด้าน Data Science และอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งเราจะพบการใช้งานตัว Jupyter Notebook ได้บ่อย ๆ ใน Google Colab

อย่างไรก็ดี การใช้งานตัว Google Colab พบปัญหา เนื่องมาจากตัวฟรี หรือตัวโปรรุ่นล่าง ๆ จะเปิดให้รันบนเบื้องหลังได้ไม่นาน หลังจากนั้นตัวระบบจะตัดไป เพื่อนำทรัพยากรที่มีจำกัดให้กับบุคคลอื่นแทน ดังนั้นแล้วการใช้งาน Jupyter Notebook บนคอมพิวเตอร์ของเรา หรือบนเซิร์ฟเวอร์ของเราเองจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

Categories
Computer Diary

วัดระยะห่างระหว่างตาดำจากภาพโดยภาษา Python

อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย ทำไปแล้วบางส่วน

ปกติการวัดตาดำ เราจะพบได้ในคนที่เลือกขนาดเครื่อง Virtual Reality Headset หรือวัดขนาดแว่นตา หรืออื่น ๆ ปกติเราจะใช้ไม้บรรทัดวัดเพื่อให้รู้ว่าระยะห่างระหว่างตาดำ (Interpupillary Distance) มีระยะห่างเท่าไร อย่างไรก็ดีเราจะใช้ไม้บรรทัดวัดไปตลอดเหรอก็ไม่สะดวกเท่าไร แถมสมัยนี้เราก็ใช้คอมพิวเตอร์กันอยู่แล้วด้วย เลยเอามาเขียนโค้ดส่วนนี้เพื่อจับระยะการอ้าปากครับ

Categories
Diary

Enter Programming – จากเรียนแพทย์เข้ามาเขียนโปรแกรมได้ยังไง?

บทความนี้เราเขียนเสริมจากที่พูดในคาบของอ. advisor ที่สอนให้ในวิชาเลือกของรพ.ริมน้ำที่เกี่ยวกับการเรียน AI สำหรับทางการแพทย์

ช่วงแรก ก่อนเข้าเรียนหมอ

ตอนแรกก่อนเข้าเรียนหมอเรียนภาษา C มาก่อน เรียนเองและเรียนจากค่ายสอวน. คอม (ที่เคยไปถึงโอลิมปิกระดับชาติแล้วได้เหรียญทองแดง) ฝึกตั้งแต่พื้นฐาน, Data Structure & Algorithms และแก้โจทย์ปัญหาบ้างผ่านทางเว็บในสมัยนั้นก็มีเว็บ programming.in.th (ที่ตอนนี้มีหลายเว็บแล้ว เช่น Leetcode)