Categories
Comment Diary

ระมัดระวังการอ่านแต่พาดหัวข่าว

ปกติเวลาเปิดเว็บรวมถึงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เช่นเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ เราจะพบว่าหลาย ๆ คนจะแชร์ข่าวพร้อมกับแสดงความคิดเห็นที่มีต่อบทความนั้น แต่ทีนี้ในปัจจุบันเครือข่ายสังคมออนไลน์มีอิทธิพลกับคนเรามากขึ้น ดังนั่นแล้วบทความก็เปลี่ยนรูปแบบไป

สิ่งที่พบได้จากการเข้ามาก็พบว่าหัวข้อ หรือพาดหัวข่าวจะดูเรียกแขกให้เข้ามาอ่านมากขึ้น โดยพาดหัวข่าวให้โอเวอร์จนเกินความเป็นจริง แต่ทีนี้พอคลิกเข้าไปดูเนื้อข่าวข้างในจริง ๆ กึไม่ได้น่าอ่าน/น่าสนไจขนาดนั้น (เรียกอีกแบบว่า Clickbait) อีกแบบก็คือเนื้อความข้างในการพาดหัวไม่ตรงกัน แล้วคนก็ไม่ได้อ่านข้อความข้างไนทั้งหมดเนอะ เลยแสดงความคิดเห็นตามพาดหัวนั้น กลายเป็นว่าคนที่โพส รวมถึงคนที่แชร์ไปก็เข้าใจผิดตาม ๆ กันหมดเลย

กรณีที่อ่านแต่พาดหัว ถ้าเป็นบทความทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้สำคัญระดับประเทศ หรือคอขาดบาดตายก็ไม่เท่าไร

ตัวอย่างข่าว สังเกตเห็นว่าจะให้สอนไทยคำ แทรกอังกฤษคำ

แต่ถ้าเป็นข่าวจากทางราชการ หรือเรื่องที่คอขาดบาดตาย แล้วสื่อเอาไปทำพาดหัวที่ให้คนเข้ามาสนใจ แล้วคนก็อ่านแต่พาดหัวเหมือนเดิม คนก็เอาไปแชร์ พร้อมกับแสดงความคิดเห็นต่อข่าวนั้นที่ออกไปในแนวทางด้านลบ หรือว่าด่า/ล้อเลียนกันไป แต่อ่านเข้าไปแล้วกลายเป็นว่าที่เขียนพาดหัวกับเนื้อข่าวไม่ตรงกันอีก กลายเป็นว่าคนทำงาน หรือคนที่เกี่ยวข้องในข่าวโดนด่าฟรี ยิ่งเป็นคนดัง นักการเมืองแสดงความคิดเห็นแล้ว คนที่ติดตามเป็นจำนวนมากเข้าใจผิดกันหมดเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่ ๆ ใช้ไหมเอ่ย ก็ต้องรอให้มีคนมาอ่านแล้วทักท้วงเข้าไป บางคนก็เรียกว่าแหก

ตัวอย่างบทความแบบเต็ม เอามาจากไทยโพสต์ จะไม่พบว่าให้สอนไทยคำ อังกฤษคำ

ในกรณีที่คนแชร์เฉพาะลิ้งค์บทความให้อ่าน เราทำได้โดยกดเข้าไปอ่านให้จบก่อน ตามคำแนะนำของทวิตเตอร์เองที่ยังออกมาแนะนำผู้อ่านเวลาที่จะกดรีทวิตก่อนที่จะเข้าไปอ่านในบทความครับเพื่อทำให้ผู้ใช้ทราบข้อมูลในบทความ/เนื้อข่าวนั้นก่อนที่จะกดรีทวิต เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด อย่างไรก็ตาม บางคนก็แคปมาเฉพาะหัวข้อความข้างบนในบทความเพื่อให้คนได้แสดงความคิดเห็น แบบนี้เราควรจะทำอย่างไรดีล่ะ?

ของเราเองทำได้ไม่ยากจนเกินไปนะ ทำได้โดยเอาชื่อบทความ/ข่าว พร้อมกับชื่อเว็บแล้วค้นหาในเว็บกูเกิ้ล หรืออื่น ๆ จะพบบทความเป็นจำนวนมาก (ถ้าเป็นข่าวจริง) แล้วเราเข้าไปอ่านอันที่เป็นต้นฉบับ หรือแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือโดยใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน อ่านให้จบแล้วเช็คให้ชัวร์ เหมือนที่เราดูในโทรทัศน์ช่อง 9 รายการหนึ่งที่มีชื่อว่าชัวร์ก่อนแชร์ครับผม โดยเปรียบเทียบกับบทความจากเว็บอื่นร่วมด้วย

ตัวอย่างการค้นหาบทความ/ข่าวในเว็บกูเกิ้ลครับ

เมื่อเช็คแล้วพบว่าแชร์ได้ ก็แชร์ไห้เต็มที่ได้เลยโดยที่ไม่เข้าใจผิดฮะ

ดังนั้นแล้ว ก่อนที่เราจะแชร์อะไรก็ตาม อ่าน และเช็คข่าวให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนนะครับผม

By Kittisak Chotikkakamthorn

อดีตนักศึกษาฝึกงานทางด้าน AI ที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัย National Chung Cheng ที่ไต้หวัน ที่กำลังหางานทางด้าน Data Engineer ที่มีความสนใจทางด้าน Data, Coding และ Blogging / ติดต่อได้ที่: contact [at] nickuntitled.com