Categories
Computer Data

#21 A* Search Algorithm กับการเดินในเขาวงกต

หลังจากที่เขียนในบทความก่อนหน้าถึงโครงสร้างข้อมูลแบบ Graph และ เทคนิคการเดินทางใน Graph (Graph Traversal) เพื่อหาเส้นทาง Shortest Path โดย Dijkstra’s กับ Bellman-Ford’s Algorithms แล้ว

ในบทความนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคอีกเทคนิคหนึ่งที่มีชื่อว่า A* (อ่านว่าเอ-สตาร์) Search Algorithm

The English version is available here.

Categories
Computer Diary

สรุปงาน Health Tech x Doctor Meetup #1

เมื่อเดือนก่อนที่บริษัท H LAB consulting ได้จัดงานสำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ผันตัวไปทำงานทางด้าน Health Tech ได้มาเจอกัน เพื่อเล่าประสบการณ์ และแชร์เรื่องราวจากหลายมุมมอง ได้แก่ Health informatician, Epidemiology, Business analyst และ Software engineer

Categories
Computer Data

Pyodide – แนะนำการเริ่มต้นใช้งาน และการพล็อตกราฟเพื่อแสดงบนหน้าเว็บ

Python เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง โดยภาษานี้เป็นภาษา General-purpose ท่เน้นการอ่านตัวโค้ดได้ง่าย รวมถึงง่ายต่อการเรียนรู้ ภาษานี้ปกติจะไม่ได้ออกแบบเพื่อการทำงานบนหน้าเว็บไซต์แบบจาวาสคริป อย่างไรก็ดีมีทีมงานกลุ่มหนึ่งใน Mozilla ที่พัฒนาตึวโค้ด CPython ให้ทำงานอยู่บน Webassembly ที่ออกแบบมาให้รันตัวโค้ดที่ได้รับการคอมไพล์บนหน้าเว็บไซต์

เมื่อตัวโค้ดได้รับการคอมไพล์ให้อยู่บน Webassembly แล้ว ตัวโค้ดที่เขียนในรูปแบบภาษา Python จะเข้าถึง Web APIs ทั้งหลายแหล่ที่อยู่บนเว็บเบราวเซอร์ได้นั่นเอง

Categories
Computer Data

รันโค้ด Jupyter โดยไม่ต้องเปิดหน้าเว็บเบราวเซอร์ทิ้งไว้

Jupyter Notebook เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เรารันตัว Python Notebook ได้ ซึ่งตัวนี้เหมาะกับการเขียนโค้ดเพื่อคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือทำงานด้าน Data Science และอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งเราจะพบการใช้งานตัว Jupyter Notebook ได้บ่อย ๆ ใน Google Colab

อย่างไรก็ดี การใช้งานตัว Google Colab พบปัญหา เนื่องมาจากตัวฟรี หรือตัวโปรรุ่นล่าง ๆ จะเปิดให้รันบนเบื้องหลังได้ไม่นาน หลังจากนั้นตัวระบบจะตัดไป เพื่อนำทรัพยากรที่มีจำกัดให้กับบุคคลอื่นแทน ดังนั้นแล้วการใช้งาน Jupyter Notebook บนคอมพิวเตอร์ของเรา หรือบนเซิร์ฟเวอร์ของเราเองจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

Categories
Computer

เขียนโค้ดจาวาสคริปเพื่อเช็คว่าใช้งาน MetaMask อยู่หรือไม่

Web3 (ที่ไม่ใช่ Web 3.0 ตามที่คุณ Tim Berners-Lee กล่าวไว้) เป็นเว็บไซต์รูปแบบหนึ่งที่อยู่บนบล็อคเชนที่นำหลักการ Decentralization และหลักการ Token-based economics ตัวอย่างเช่นคริปโต โดย Web3 ที่พบได้ และบางคนก็ใช้ก็ตัวอย่างเช่น DeFi แบบ Pancakeswap หรืออื่น ๆ

อย่างไรก็ดี เวลาที่เปิดใช้งานเว็บแนวนี้เราก็ต้องเช็คก่อนครับว่ามีกระเป๋าตังคริปโต (ที่ได้ยินบ่อยก็เป็น MetaMask) หรือไม่ ถ้ามี เราก็เปิดให้เชื่อมกับกระเป๋าตังสำหรับใช้ทำธุรกรรม Smart Contract หรืออื่น ๆ ต่อได้เลย แต่ถ้าไม่มีก็ให้เว็บแจ้งว่าไม่มี

Categories
Computer Data

การเขียนโค้ดเพื่อใช้งาน GraphQL โดยไม่ใช้ไลบรารี

เวลาที่ส่งข้อมูลระหว่าง Client และ Server ผ่านทางจาวาสคริปโดยเรียกใช้งานผ่านทาง AJAX ปกติ เราจะส่งข้อมูลโดยวิธี POST ผ่านการพิมพ์โค้ดตามด้านล่างนี้ (ในตัวอย่างจะใช้ XMLHttpRequest แต่จะใช้ Fetch, Axios หรืออื่น ๆ ก็ได้ เพราะได้ผลเหมือนกัน)

Categories
Computer Diary

วิธีการเลือก parent element ด้วย JavaScript

ปกติเวลาที่เราเลือก element ด้วยภาษาจาวาสคริป เราจะใช้คำสั่งที่รู้จักกันอย่าง

document.getElementById("id");
document.document.getElementsByClassName("class name");
document.document.getElementsByName("name");
document.document.getElementsByTagName("tag name");

หรือเลือก element โดยการใช้ CSS Selector ด้วยคำสั่งที่รู้จักอย่าง

document.querySelector("selector");
parent_element.querySelector("selector");
document.querySelectorAll("selector");
parent_element.querySelectorAll("selector");

คำสั่งเหล่านี้ะคืนค่า element ที่เราเลือกไว้ ไม่ว่าจะเป็น element เดียว หรือ element ทั้งหมดที่เราพบในหน้าเว็บเพจนั้น ๆ อย่างไรก็ดีเราต้องการเลือก parent element จาก element ที่อยู่ภายใน จุดนี้เราจะทำได้อย่างไร?

Categories
Computer Data

วัดระยะห่างระหว่างตาดำจากภาพโดยภาษา Python

อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย ทำไปแล้วบางส่วน

ปกติการวัดตาดำ เราจะพบได้ในคนที่เลือกขนาดเครื่อง Virtual Reality Headset หรือวัดขนาดแว่นตา หรืออื่น ๆ ปกติเราจะใช้ไม้บรรทัดวัดเพื่อให้รู้ว่าระยะห่างระหว่างตาดำ (Interpupillary Distance) มีระยะห่างเท่าไร อย่างไรก็ดีเราจะใช้ไม้บรรทัดวัดไปตลอดเหรอก็ไม่สะดวกเท่าไร แถมสมัยนี้เราก็ใช้คอมพิวเตอร์กันอยู่แล้วด้วย เลยเอามาเขียนโค้ดส่วนนี้เพื่อจับระยะการอ้าปากครับ

Categories
Computer

ใช้ HTTPOnly Cookies บน Node.js ด้วย Express สำหรับ Access Token

เดิมทีเวลาที่เราใช้งานเพื่อเข้าสู่ระบบ เราจะเขียนโค้ดเพื่อขอ Access Token จากเซิร์ฟเวอร์แล้วนำมาเก็บไว้บน Client เพื่อนำมาใช้งานระบบที่จำเป็น โดยในบทความบนเว็บที่เกี่ยวกับการทำระบบ Authentication โดยใช้ไลบรารี Apollo GraphQL นั้น เราจะเก็บข้อมูล Access Token ที่สร้างขึ้นไว้บน LocalStorage เพื่อนำมาใช้งานต่อครับ

อย่างไรก็ดี การเก็บข้อมูลไว้ในนี้ก็มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ในบทความนี้จะแนะนำวิธีการเก็บข้อมูล Access Token ที่ปลอดภัยกว่าการเก็บบน LocalStorage ครับ

Categories
Computer

สรุปบางส่วนจากสเปช How to Become a Web 3 Developer

เมื่อวันก่อนเปิดทวิตเตอร์เจอสเปชของทางเว็บ Hashnode ที่มีหัวข้อว่า How to Become a Web 3 Developer หรือแปลเป็นภาษาไทยว่าวิธีการเป็นนักพัฒนาเว็บ 3.0

Hashnode เป็นเว็บที่อนุญาตให้คนเขัยนบทความที่เกี่ยวข้องกับการเขัยนโปรแกรมได้ แถมเราสามารถลิ้งค์โดเมนเนมที่เราจดไว้แล้วกับหน้าบล็อกนี้ได้เลย จุดนี้นึกถึงเว็บ Medium ครับ แต่อันนี้สำหรับนักพัฒนาโปรแกรม ใครสนใจเข้าไปสมัครสมาชิกและเขียนบทความได้ฟรี

ก่อนที่เราจะไปถึงสรุป เรามาพูดถึงเว็บ 3.0