Hello World เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อแสดงผลหน้าจอว่า “Hello World” ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ในทุกภาษา และมีไว้แสดงลักษณะการเขียนในภาษาเขียนโปรแกรมนั้น ๆ (Syntax) นอกเหนือจากนี้แล้วการเขียนโปรแกรมนี้ขึ้นมามีหน้าที่ทดสอบว่า เราติดตั้งแล้วสามารถใช้งานตัว Compiler หรือตัว Interpreter ว่าทำงานได้ปกติหรือไม่
ต่อมา เราเขียนทวิตหนึ่งไป แล้วแมสมาพอดี มีโควทหนึ่งในทวิตว่าสนใจที่จะเขียน Hello World เราเลยแสดงให้เห็นว่า การเขียนในภาษาไพทอน จาวาสคริป และ C++ เป็นอย่างไรครับ
ภาษาไพทอน
อันนี้เป็น Hello World ในภาษาไพทอน จะพบว่าเขียนได้จบในบรรทัดเดียว สะดวกไหมล่ะ? สำหรับคนที่เพิ่งเขียนโปรแกรม ภาษานี้เราแนะนำครับ เรียนแล้วเอาไปต่อยอดทางด้าน Data Science, AI/ML และอื่น ๆ ได้เลย
ภาษาจาวาสคริป
อันนี้เป็น Hello World ในภาษาจาวาสคริป จะพบว่าเขียนได้จบในบรรทัดเดียวเช่นกัน สะดวกไหมล่ะ? สำหรับคนที่เพิ่งเขียนโปรแกรม ภาษานี้เราก็แนะนำครับ เรียนแล้วเอาไปต่อยอดทำเว็บได้ทั้ง Front-end, Back-end รวมถึงทำโปรแกรมบนเดสก์ท็อป มือถือได้ครับ
ภาษา C++
อันนี้เป็น Hello World ในภาษา C++ จะพบว่าเขียนได้ไม่จบในบรรทัดเดียวเช่นกัน อย่างไรก็ดีภาษานี้ใครเรียนคอมในโรงเรียน หรือในมหาวิทยาลัยก็จะได้เจอกัน ส่วนตัวภาษานี้อาจจะยากไปนิดสำหรับคนที่เพิ่งเขียนโปรแกรม แต่ถ้าเขียนเป็นแล้วนี่เอาไปต่อยอดได้อีกเยอะครับ เช่นพัฒนาเกม, พัฒนาลงอุปกรณ์ IoT (Internet of Things), ฐานข้อมูล เป็นต้น
ผู้อ่านสามารถอ่านได้ในหน้าเว็บของ Codecademy ที่สอนเขียนโปรแกรมได้ครับ
สรุป
สำหรับคนที่เพิ่งเขียนโปรแกรม โปรแกรมนี้จะเป็นโปรแกรมแรกที่ได้เขียน เราแสดงให้เป็นตัวอย่างใน 3 ภาษาได้แก่ ไพทอน จาวาสคริป และ C++ ที่จะเห็นว่าโค้ดในสองภาษาแรกสามารถเขียนได้ในบรรทัดเดียว ส่วนตัวเราแนะนำให้เริ่มเขียนทั้งสองภาษานี้ก่อนครับ พอเขียนเป็นแล้วจะไปเรียนต่อภาษาอื่นก็ทำได้เช่นกันครับผม