Categories
Computer

สรุปบางส่วนจากสเปช How to Become a Web 3 Developer

เมื่อวันก่อนเปิดทวิตเตอร์เจอสเปชของทางเว็บ Hashnode ที่มีหัวข้อว่า How to Become a Web 3 Developer หรือแปลเป็นภาษาไทยว่าวิธีการเป็นนักพัฒนาเว็บ 3.0

Hashnode เป็นเว็บที่อนุญาตให้คนเขัยนบทความที่เกี่ยวข้องกับการเขัยนโปรแกรมได้ แถมเราสามารถลิ้งค์โดเมนเนมที่เราจดไว้แล้วกับหน้าบล็อกนี้ได้เลย จุดนี้นึกถึงเว็บ Medium ครับ แต่อันนี้สำหรับนักพัฒนาโปรแกรม ใครสนใจเข้าไปสมัครสมาชิกและเขียนบทความได้ฟรี

ก่อนที่เราจะไปถึงสรุป เรามาพูดถึงเว็บ 3.0

Web 3

เงินคริปโตเป็นส่วนหนึ่งของ Blockchain ที่เกี่ยวข้องกับ Web 3.0

Web 3 หรือเรียกว่า Web 3.0 มีคำนิยามตามที่ Tim Berners-Lee ให้ไว้ว่ามันจะเป็น The next generation of internet ที่ตัวเว็บจะกลายเป็น Semantic Web ที่มีความฉลาดมากขึ้น ทำงานได้อัตโนมัติ ทำได้งานด้าน AI, Machine Learning, Blockchain และเทคโนโลยีอัจฉริยะอื่น ทำงานได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ ทาง Berners-Lee ให้นิยามไว้เพิ่มเติมว่า Web 3.0 จะเป็นเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้อ่านสามารถสร้างคอนเท้นต์ได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งทางผู้ให้บริการ ทางรัฐ หรืออื่น ๆ ก็คือจะมีความเป็น Decentralize มากขึ้นกว่าเดิม สิ่งนี้เหมือนกับเทคโนโลยีของ Blockchain ทางด้าน Cryptocurrency ตรับ

ผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความในเว็บ

และอื่นๆ ครับ

เรามาพูดถึงที่สรุปจากสเปชบางส่วนครับ

สรุปจากสเปช

สเปชนี้จะเป็นสเปชที่เปิดให้คนกดยกมือเข้าไปถามได้ อันนี้นึกถึง Clubhouse ตรับ เพียงแต่อันนี้มีบนทวิตเตอร์มาระยะหนึ่งแล้ว และไม่เป็นสเปช Toxic ครับ โดยเราจะสรุปบางส่วนได้ตามด้านล่างนี้ครับ

  1. นักพัฒนา Web 3.0 ไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญ Web 2.0 มาก่อน แต่ถ้าเคยทำเว็บมาก่อนอยู่แล้วจะทำให้เรียนรู้การทำ Web 3.0 ได้เร็วขึ้น
  2. การทำเว็บก็ต้องมีความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรม ในสเปชจะกล่าวถึ้งความรู้ทางด้าน HTML, CSS, JavaScript, Object-oriented Programming (OOP) และอื่น ๆ
  3. นอกจากความรู้ทางการเขียนโปรแกรมแล้ว ความรู้ทางด้าน Blockchain, Solana, Ethereum, Polygon รวมถึงหลักการ NFT, Smart Contract, Decentralization, Layer 2 เป็นต้น ลิ้งยูทูปอันนี้น่าจะอธิบายเรื่องที่กล่าวมาได้ในระดับหนึ่งครับ
  4. อีกอย่าง เรียนรู้การใช้ไลบรารีที่เกี่ยวข้องกับ Web 3.0 ครับ โดยหยิบไลบรารี Open Source มาฝึกได้เลย
  5. พอเรีัยนรู้ตามข้างบนไประยะหนึ่งแล้ว การสร้างโปรเจคขึ้นมาเป็นวิธีทำให้เราเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
  6. เมื่อสร้างโปรเจคแล้ว นำมาเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต โซเชียล รวมถึงเขียนบล็อก บทความบนแพลตฟอร์มอะไรก็ได้เพื่อเผยแพร่โปรเจค ให้ความรู้ (ทางนั้นแนะนำ Hashnode แหม ก็ใครเป็นเจ้าของสเปช) และโพสลงโซเชียลเพื่อทำให้คนรู้จักเรา สร้างคอนเนคชั่นได้ (ที่ไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์)
  7. สร้าง Resume, CV และมองหาบริษัทที่เปิดรับสมัครงาน
  8. ระยะเวลาเริ่มต้นจนทำเว็บ 3.0 เป็น อันนี้ไม่แน่นอน ขึ้นกับคน ถ้ายังไม่มีพื้นฐานอะไรเลย ก็จะช้าหน่อย
  9. มี Passion อยากจะเรียนรู้ ใช้เวลาฝึกสม่ำเสมอ สนุกกับมัน

สรุปได้คร่าว ๆ ประมาณนี้ครับ ดูจากแต่ละข้อแล้วก็คล้าย ๆ กันกับวิธีการเริ่มการเขียนโปรแกรม หรือวิธีการเริ่มสกิลใหม่สำหรับคนที่ทำงานหนึ่งแล้วต้องการเปลี่ยนสาย เช่นหมอไปเป็นนักบิน เป็นต้น ผู้อ่านสามารถนำสิ่งที่สรุปไปทำตามได้ครับ

แต่ถ้าผู้อ่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ผู้อ่านสามารถหาได้ในอินเตอร์เน็ต ยูทูป หนังสือ และอื่น ๆ ครับ

By Kittisak Chotikkakamthorn

อดีตนักศึกษาฝึกงานทางด้าน AI ที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัย National Chung Cheng ที่ไต้หวัน ที่กำลังหางานทางด้าน Data Engineer ที่มีความสนใจทางด้าน Data, Coding และ Blogging / ติดต่อได้ที่: contact [at] nickuntitled.com

Exit mobile version