Categories
Computer

#32 ทดสอบความเร็วการพิมพ์ใน Monkeytype

Monkeytype เป็นเว็บที่ทดสอบความเร็ว และความแม่นยำการพิมพ์คีย์บอร์ด บทความนี้เราจะแนะนำตัวเว็บ เหตุผลของการทดสอบ และตัวอย่างการทดสอบโดยใช้ Magic Keyboard บน iPad

เมื่อเดือนก่อนได้สมัครคอร์ส Data Science Bootcamp ของทาง Datarockie ไป และได้เข้าห้อง Discord ไปเรียบร้อยแล้ว

เมื่อวานทางเจ้าของ Datarockie ได้แนะนำเว็บหนึ่งสำหรับการทดสอบการพิมพ์คีย์บอร์ดเพื่อเช็คว่าพิมพ์ได้เร็วเท่าไร โดยเว็บนั้นมีชื่อว่า Monkeytype

Monkeytype

เว็บไซต์ Monkeytype

Monkeytype เป็นเว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถทดสอบความเร็ว และความแม่นยำของการพิมพ์คีย์บอร์ด

เว็บไซต์นี้อนุญาตให้ผู้ใช้ปรับแต่งโหมดการทดสอบการพิมพ์ได้หลากหลายมาก โดยปรับโหมดการทดสอบให้

  • เพิ่มสัญลักษณ์กับตัวเลขเข้ามาในแบบทดสอบ
  • นับเวลาถอยหลัง โดยมีให้เลือกตั้งแต่ 15, 30, 60 หรือ 120 วินาที
  • พิมพ์ข้อความให้ครบเป็นจำนวนกี่คำ ตั้งแต่ 10 ,25, 50 หรือ 100 คำ
  • พิมพ์ข้อความ Quote ที่เป็นข้อความแบบสั้น ๆ ไปจนถึงข้อความแบบยาว ๆ
  • โหมด Zen
  • และอื่น ๆ

นอกจากนี้เว็บไซต์นี้ยังอนุญาตให้สมัครสมาชิกเพื่อ

  • บันทึกการทดสอบการพิมพ์
  • บันทึกการตั้งค่า ได้แก่การปรับแต่ง Theme, เสียง, ตัว Caret และอื่น ๆ

อีกอย่าง เว็บไซต์นี้ได้รับการพัฒนาเพื่อจำลองประสบการณ์การพิมพ์คีย์บอร์ดให้เหมือนจริง โดย

  • แสดงเป็นหน้าจอ Text prompt ที่แสดงตัวอักษรที่พิมพ์บนหน้าจอตามที่เราพิมพ์
  • และแสดง Feedback ตั้งแต่การเน้นตัวอักษรที่พิมพ์ผิด กับความเร็ว และความแม่นยำของการพิมพ์

การทดสอบ

ก่อนอื่นเลย เราจำเป็นต้องเข้าไปในตัวเว็บไซต์นั้นเสียก่อน ทำได้โดยการพิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์เป็น monkeytype.com เมื่อเข้ามาแล้วจะปรากฏหน้าจอเว็บไซต์นี้

การทดสอบ ทำได้ง่ายเพียงแค่พิมพ์ข้อความลงไปในนั้น ระบบจะเริ่มการทดสอบครับ เมื่อทดสอบเสร็จแล้วระบบจะแสดงผลลัพธ์ของการทดสอบบนหน้าจอ

ในตัวอย่างนี้เราจะทดสอบการพิมพ์ด้วยคีย์บอร์ด Apple Magic Keyboard สำหรับ iPad (ที่เรากล่าวถึงในบทความก่อนหน้า) โดยกำหนดให้นับเวลาถอยหลัง 60 วินาทีครับ

ผลลัพธ์ที่ได้แสดงตามด้านล่างนี้

ผลลัพธ์การทดสอบบน Apple Magic Keyboard สำหรับ iPad

ตัวระบบจะแสดง

  • wpm คือ Word Per Minute หรือจำนวนคำที่พิมพ์ได้ต่อนาที
  • raw wpm คือจำนวนคำที่พิมพ์ได้ต่อนาทีที่รวมถึงตัวอักษรที่เราพิมพ์ผิดไปด้วย
  • acc คือ Accuracy หรือความแม่นยำ
  • char คือจำนวนตัวอักษรที่ถูก / จำนวนตัวอักษรที่พิมพ์ผิด โดยคำนวณหลังการทดสอบสิ้นสุด
  • consistency คิดจาก variance ของ raw wpm โดยค่านี้ยิ่งใกล้ 100% ยิ่งดี โดยคำนวนจาก Coefficient of variation of raw wpm แล้วนำมากำหนดบน scale ตั้งแต่ 0 ถึง 100

โดยข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านได้ในเว็บไซต์ครับ

เหตุผล

เหตุผลในการทดสอบการพิมพ์ในเว็บไซต์ตามที่กล่าวไว้ข้างบนนี้ก็มีเหตุผลที่ว่าการพิมพ์เป็นทักษะหนึ่งสำหรับการการเพิ่ม Productivity สำหรับการทำงานออฟฟิศ รวมถึงการเขียนโปรแกรม โดยค่าเฉลี่ยของโปรแกรมเมอร์ (ตามเว็บ Hackerrank) มีค่า

  • ความเร็วในการพิมพ์เท่ากับ 40 ถึง 90 wpm
  • ความแม่นยำในการพิมพ์เท่ากับ 92%

การพิมพ์เร็ว และถูกต้อง ทำให้ Productivity เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการสื่อสาร การโต้ตอบ การทำงาน รวมถึงการเขียนโค้ดที่ทำได้เร็วมากขึ้น ส่งผลให้เราทำงานในโปรเจคที่มีขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม ทักษะการพิมพ์ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในสายงานนั้น ๆ เราจำเป็นต้องมีทักษะอื่นประกอบกันไปด้วยครับ

สำหรับผู้อ่านที่สนใจอยากจะทดสอบเพื่อประเมินว่าเราพิมพ์ได้เร็ว และถูกต้องแค่ไหน ผู้อ่านสามารถทดสอบได้ในเว็บ monkeytype เลยครับ

By Kittisak Chotikkakamthorn

อดีตนักศึกษาฝึกงานทางด้าน AI ที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัย National Chung Cheng ที่ไต้หวัน ที่กำลังหางานทางด้าน Data Engineer ที่มีความสนใจทางด้าน Data, Coding และ Blogging / ติดต่อได้ที่: contact [at] nickuntitled.com