ปกติระบบการจองวัคซีนของไทย ที่ให้จองซิโนแวค หรือแอสตร้าเซเนกา เดิมจะจองผ่านระบบหมอพร้อม แต่หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงระบบไปเป็นไทยร่วมใจ กำแพงเมือง และอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งก็ดูสับสนเพราะพอจองไปแล้วก็มีเทเป็นระยะ
แล้วต่อมาก็มีจองวัคซีนทางเลือกตัวอื่นเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ วัคซีนซิโนฟาร์ม วัคซีนโมเดิร์นนา วัคซีนไฟเซอร์ และอื่น ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ดี วัคซีน mRNA ยังเข้ามาไม่ถึง (หรือว่าถึงแล้ว) ก็มีหน้าเว็บไซต์ที่ระบุว่าจองวัคซีนแบบ VIP ได้ที่มีชื่อว่า thvaccine.com
เว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์ที่ระบุในเว็บไซต์ว่าให้จองวัคซีน Pfizer แบบ VIP ที่มีจำนวน 2 หมื่นโดส ให้จ่ายเงินสกุล Cryptocurrency ที่เป็น USDT ประมาณ 10,000 บาท สำหรับการได้รับวัคซีนแบบพิเศษที่คนปกติไม่ได้ อย่างไรก็ดี เว็บนี้เรามีข้อสังเกตอยู่นะ ว่าเป็นอย่างไร ตามด้านล่างนี้เลย
อัพเดท ตอนนี้หน้าเว็บเปลี่ยนจากหน่วยเงิน USDT เป็นหน่วยเงิน Monero (XMR) ในราคา 1.5 XMR เรียบร้อย เหรียญ XMR นี้จะแตกต่างกับเหรียญคริปโตเดิมที่ตามรอยได้ยากขึ้นมากกว่าเดิมครับ
ข้อสังเกตเว็บไซต์
ข้อสังเกตที่มีต่อเว็บไซตก็มีเห็นในทวิตก่อน หลังจากนั้นมีคนตั้งข้อสังเกตไว้ในเว็บอย่าง The Matter ที่ระบุไว้ประมาณว่า
- เว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์จริงหรือว่าเป็นเว็บไซต์หลอกหลวงท่ามกลางสถานการณ์ที่ประชาชนรอวัคซีนที่มีคุณภาพสูง
- การจัดสรรวัคซีนนี้ได้รับมาได้อย่างไร เพราะเว็บไซต์ระบุว่าหลังจากที่คณะผู้ใหญ่ได้รับวัคซีน mRNA มากเกินความต้องการ กับระบุว่าท่านควรยอมรับความจริงว่าท่านไม่สามารถหลีกเลี่ยงระบบเส้นสายและ VIP ในประเทศไทย
อย่างไรก็ดี สำหรับเรามีข้อสังเกตเพิ่มเติมที่เคยโพสในทวิตนี้มาแล้ว แต่เอามาเพิ่มเติมในหน้าเว็บนี้ได้ว่า
การจดทะเบียนโดเมนเนม
การดูรายละเอียดการจดทะเบียนโดเมนเนมปกติเราจะดูผ่านการใช้คำสั่งที่มีชื่อว่า WHOIS คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการ Windows, MacOS, Linux ที่ค้นหาข้อมูลได้ว่าใครเป็นผู้จดโดเมนเนมชื่อนี้กับการองค์กร ICANN และดูรายละเอียดอีเมล หรอืเว็บชื่ออะไรในการสมัครสมาชิก โดยเราสามารถดึงข้อมูลมาได้ตามด้านล่างนี้ (ข้อมูลเอามาในวันนี้ 25/7/64)
Domain Name: thvaccine.com Registry Domain ID: 2628242200_DOMAIN_COM-VRSN Registrar WHOIS Server: whois.godaddy.com Registrar URL: http://www.godaddy.com Updated Date: 2021-07-21T07:52:53Z Creation Date: 2021-07-21T09:48:24Z Registrar Registration Expiration Date: 2023-07-21T09:48:24Z Registrar: GoDaddy.com, LLC Registrar IANA ID: 146 Registrar Abuse Contact Email: [email protected] Registrar Abuse Contact Phone: +1.4806242505 Domain Status: clientTransferProhibited http://www.icann.org/epp#clientTransferProhibited Domain Status: clientUpdateProhibited http://www.icann.org/epp#clientUpdateProhibited Domain Status: clientRenewProhibited http://www.icann.org/epp#clientRenewProhibited Domain Status: clientDeleteProhibited http://www.icann.org/epp#clientDeleteProhibited Registrant Organization: Registrant State/Province: Bangkok Registrant Country: TH Registrant Email: Select Contact Domain Holder link at https://www.godaddy.com/whois/results.aspx?domain=thvaccine.com Tech Email: Select Contact Domain Holder link at https://www.godaddy.com/whois/results.aspx?domain=thvaccine.com Admin Email: Select Contact Domain Holder link at https://www.godaddy.com/whois/results.aspx?domain=thvaccine.com Name Server: DNS1.P05.NSONE.NET Name Server: DNS2.P05.NSONE.NET Name Server: DNS3.P05.NSONE.NET Name Server: DNS4.P05.NSONE.NET DNSSEC: unsigned
เอาสรุปเลย ก็ได้ประมาณว่า
- เว็บนี้เพิ่งก่อตั้งวันที่ 21/7/2564
- ผู้จดทะเบียนเป็นคนไทย
- รายละเอียดที่เหลือถูกปกปิดไว้เนื่องจากลงทะเบียนให้ใช้ความสามารถเรื่อง Privacy ที่ปกปิดข้อมูลไม่ให้เห็นข้อมูลส่วนตัวได้
- ใช้ Name Server ของ P05.NSONE.NET
ตำแหน่งเว็บที่ตั้งอยู่
ตำแหน่งเว็บที่ตั้งอยู่ เราสามารถเช็คได้จากการใช้คำสั่ง ตัวอย่างเช่นก็ Traceroute (Tracert ใน Windows) คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่แสดงเส้นทางของ Network ถ้ามันไม่ได้ซับซ้อนจนต้องผ่าน 30 แห่งอ่ะนะ ในตัวอย่างนี้ เราใช้คำสั่งแล้วจะพบรายละเอียดตามภาพด้านล่างครับ (รายละเอียดบางส่วนขอเซ็นเซอร์ไปยกเว้นตำแหน่งเว็บครับ)
เราจะพบว่าตัวปลายทางอยู่ที่ Amazon Web Service (AWS) ที่อยู่แถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีข้อสังเกตว่าปกติแล้วเวลาราชการ หรือเอกชนไทยทำเว็บก็จะใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ในประเทศแทนที่จะเป็นของตปท อันนี้เป็นข้อสังเกตหนึ่ง
ลืมไปอย่างนึง ตัว Amazon Web Service (AWS) มีคนไทยให้บริการอยู่นะครับ ใครสนใจก็ใช้บริการได้ ดีครับ เห็นมีหลายเว็บใช้บริการอย่างเช่น Gotoknow เป็นต้น โดยตัวอย่างหน้าเว็บ AWS ก็ตามด้านล่างนี้เลย
อย่างไรก็ดี นอกจากคำสั่งที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เราสามารถใช้บริการเว็บที่ค้นหา IP Location ได้ เพียงแต่แม่นยำไหม ก็ไม่ได้แม่นยำ 100% อะไรขนาดนั้นครับ เพราะจากที่ใส่ข้อมูลไป จะได้ว่าอยู่ที่ DigitalOcean แทน ซึ่งก็ไม่ได้อยู่ในไทยอยู่ดี
ชื่อลิ้งค์ที่ไปยังทีมงานดันลิ้งค์ให้ไปเว็บกูเกิลแทน
ปกติแล้วเวลาที่จะระบุทีมงานพร้อมลิ้งค์ อันนี้เวลากดลิ้งค์จะไปยังหน้าเว็บทีมงาน หรือไปยังหน้าโซเชียลของทีมงานนั้น ๆ เพียงแต่เราลองใช้ Inspect Element ที่มีเกือบทุกเว็บเบราวเซอร์บนคอมจะพบว่าตัวลิ้งค์ ลิ้งค์ให้ไปยังหน้าเว็บค้นหาของกูเกิลแทน อันนี้แปลกไหมล่ะ เราว่าแปลกนะ
แถมอีกอย่าง เวลา View Source ของเว็บนี้มันจะขึ้นเป็นคำสั่งจาวาสคริป ตามด้านล่าง
document.write(escape(ข้อความยาว แต่พอแปลงแล้วเป็นคำสั่ง HTML ที่ใช้ Front-end Framework ของ Bootstrap ที่ทำหน้าเว็บโง่ ๆ));
อันนี้แปลกไหมล่ะ เราว่าแปลกอยู่ดี เพราะเว็บอื่นของไทยจะไม่ได้ใช้แบบนี้นะ
การติดต่อที่ต้องติดต่อผ่าน Telegram
อันนี้แปลกกว่าเดิม เพราะปกติเว็บของไทยเองแทบจะไม่มีใครใช้ Telegram เลย ส่วนใหญ่จะใช้ LINE Official หรือ LINE @ กันทั้งนั้นครับ โดยตัวอย่างลิ้งค์ที่ไปหน้าการติดต่อ Telegram ก็ตามภาพด้านล่าง
พอมีคนไปแอดเข้าไป ข้อมูลก็ไม่ได้มีการอัพเดท ตามที่มีโพสหนึ่งในทวิตเตอร์กล่าวไว้ อันนี้ก็ดูไม่น่าเชื่อถือ
สรุป
ตัวหน้าเว็บที่ดูไม่น่าเชื่อถือเท่าไร แถมตัวเว็บก็ไม่ได้อยู่ในไทย เพิ่งจดทะเบียนโดเมนเนม และการติดตั้งที่ไม่เหมือนชาวบ้านชาวช่องเค้า เราเลยไม่แนะนำให้ไปจ่ายเงินกับทางเว็บนี้ครับ ส่วนเรื่องทางรัฐ/เอกชนจะชี้แจงไหม คงต้องรอทางรพ.เอกชน หรือทางรัฐบาล มาชี้แจงอีกทีครับ
ลืมให้เครดิต รูปโคเวอร์เอามาจากคุณ Christin Hume เว็บ Unsplash